วัดโมลีโลกยาราม เดิมชื่อ วัดท้ายตลาด มีมาครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นอารามเก่าแก่ ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมวิชัยประสิทธิ์ เยื้องกับพระราชวังเดิม สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงอุปจารวัดท้ายตลาดและวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) รวมเข้าเป็นเขตพระราชวังหลวง จึงทำให้ทั้งสองวัดไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำตลอดสมัยกรุงธนบุรี จึงปรากฏชื่อวัดในพงศาวดารและหมายรับสั่งกรุงธนบุรีอยู่หลายครั้งว่า “ให้ออกทางประตูและท่าเรือวัดท้ายตลาด”

วิหารฉางเกลือ

สันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงใช้เป็นสถานที่เก็บเกลือ ด้วยในสมัยนั้นเกลือมีความสำคัญในด้านยุทธปัจจัยสำคัญในการรบ พระวิหารมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 8.61 เมตร ยาว 22.94 เมตร โครงสร้างอาคารใช้ระบบเสาทรงสี่เหลี่ยม ค้ำรับน้ำหนักภายใน ส่วนภายนอกใช้ตัวผนังรับน้ำหนัก หลังคามีลักษณะ 2 ซ้อน 3 ตับ หนังคากระเบื้องดินเผา หน้าบันประดับลายปูนปั้น ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่ นามว่า “พระปรเมศ”

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรี สำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุดารา สุจฉายา. (2550). ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ : สารคดี.
สุวิทย์ เตชรุ่งถวิล. (2543). การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปาก

วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ