วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดมะกอก หรือ วัดมะกอกนอก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดแจ้ง และ วัดอรุณในปัจจุบัน เดิมทีวัดแห่งนี้มีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จมาถึงท่าน้ำหน้าวัดในเวลารุ่งเช้า จึงดำริให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งและทรงบูรณปฏิสังขรณ์ เป็นพระอารามในเขตพระราชฐานสมัยกรุงธนบุรี วัดแจ้งแห่งนี้ ปรากฏชื่อตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ดังลำดับได้ดังนี้

ปีพุทธศักราช 2322 มีการอัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ มีการจัดงานสมโภชจัดมโหรีเฉลิมฉลอง เป็นเวลา 2 เดือน 12 วัน และมีการสมโภช จัดงานมหรสพใหญ่อีก 7 วัน 7 คืน

ปีพุทธศักราช 2323 รับสั่งให้จัดทำตำราแบบธรรมเนียมราชการในพระราชสำนัก ณ โรงพระแก้วมรกต นอกจากนั้น นอกจากประกอบพระราชพิธีก่อพระเจดีย์ทราย หน้าวิหารใหญ่ ทรงรับสั่งให้เจ้าพนักงานก่อพระทรายหน้าพระวิหาร จากนั้นทรงเสด็จสรงน้ำในเฝือกล้อมหน้าวัด

ปีพุทธศักราช 2324 มีหมายนั้นยังมีการจารึกพระราชสาส์น พระสุพรรณบัฏ ณ หอพระแก้วมรกต ในปีนี้ปลายรัชกาล พระยาสรรค์และพรรคพวกก่อกบฏ บังคับให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่วัดแจ้งแห่งนี้

วัดอรุณแห่งนี้มีความสำคัญตลอดช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังปรากฎในบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ อีกทั้งมีการกล่าวถึงหอพระแก้วและโรงพระแก้ว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอาคารหลังใดหลังหนึ่งภายในวัดอรุณแห่งนี้

พระอุโบสถน้อยและวิหารน้อย

พระอุโบสถน้อยตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของพระปรางค์ เคียงกันกับวิหารน้อย อาคารทั้ง 2 หลังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยหันหน้าไปทางตะวันออกเข้าหาแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาคู่กับพระปรางค์องค์เดิม ในครั้งสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ มีลักษณะหลังคาลด 2 ชั้น ผืนหลังคา 3 ชั้น หน้าบันเป็นลายกนก ลงรักปิดทองประดับกระจกสี มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ มีขนาดพื้นที่ 10.10 เมตร ยาว 23 เมตร มีประตูหน้า 2 ข้าง ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย และพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกหลายองค์ อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานของพระแท่นวิปัสสนาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ส่วนวิหารน้อยนั้น สันนิษฐานว่าถูกสร้างมาพร้อมกับพระอุโบสถน้อย ลักษณะเป็นอาคารทรงเตี้ย มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มุขด้านหน้าว่าง มุขหลังประดิษฐานพระมาลัยหน้าตักกว้าง 2 ศอก บานประตูด้านนอกเป็นลายรดน้ำ ด้านในประดับภาพเขียนสี วิหารหลังนี้เป็นที่ประดิษฐาน “พระจุฬามณีเจดีย์”เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่หล่อด้วยโลหะ ในอดีตวิหารน้อยแห่งนี้ สัญนิษฐานว่า ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เมื่อครั้งที่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์

อ้างอิง

สุดารา สุจฉายา. (2550). การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิทย์ เตชรุ่งถวิล. (2543). ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ : สารคดี. หมายรับสั่ง สมัยกรุงธนบุรี จ.ศ.1138 (พ.ศ.2319).หอสมุดแห่งชาติ. (หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย.เลขที่ 2 ตู้ 118. หมวดจดหมายเหตุกรุงธนบุรี).

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดมะกอก หรื วัดมะกอกนอก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดแจ้ง และ วัดอรุณในปัจจุบัน เดิมทีวัดแห่งนี้มีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จมาถึงท่าน้ำหน้าวัดในเวลารุ่งเช้า จึงดำริให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งและทรงบูรณปฏิสังขรณ์ เป็นพระอารามในเขตพระราชฐานสมัยกรุงธนบุรี วัดแจ้งแห่งนี้ ปรากฏชื่อตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ดังลำดับได้ดังนี้

ปีพุทธศักราช 2322 มีการอัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ มีการจัดงานสมโภชจัดมโหรีเฉลิมฉลอง เป็นเวลา 2 เดือน 12 วัน และมีการสมโภช จัดงานมหรสพใหญ่อีก 7 วัน 7 คืน

ปีพุทธศักราช 2323 รับสั่งให้จัดทำตำราแบบธรรมเนียมราชการในพระราชสำนัก ณ โรงพระแก้วมรกต นอกจากนั้น นอกจากประกอบพระราชพิธีก่อพระเจดีย์ทราย หน้าวิหารใหญ่ ทรงรับสั่งให้เจ้าพนักงานก่อพระทรายหน้าพระวิหาร จากนั้นทรงเสด็จสรงน้ำในเฝือกล้อมหน้าวัด

ปีพุทธศักราช 2324 มีหมายนั้นยังมีการจารึกพระราชสาส์น พระสุพรรณบัฏ ณ หอพระแก้วมรกต ในปีนี้ปลายรัชกาล พระยาสรรค์และพรรคพวกก่อกบฏ บังคับให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่วัดแจ้งแห่งนี้

วัดอรุณแห่งนี้มีความสำคัญตลอดช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ดังปรากฎในบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ อีกทั้งมีการกล่าวถึงหอพระแก้วและโรงพระแก้ว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอาคารหลังใดหลังหนึ่งภายในวัดอรุณแห่งนี้

พระแท่นวิปัสสนา วัดอรุณราชวราราม

สันนิษฐานว่าเป็นพระแท่นที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใช้ในการประทับนั่งวิปัสสนากรรมฐาน สร้างขึ้นด้วยไม้สักทอง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นทำจากไม้กระดานแผ่นเดียว ขนาดกว้าง 1.70 เมตร ยาว 3.05 เมตร สูง 0.68 เมตร เขียนลายรดน้ำและแกะสลักลวดลายดอกพุดตาน ประกอบกับเขียนสีและปิดทองบริเวณดอกพุดตาน ซึ่งเป็นอิทธิพล ของงานศิลปะจีนที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานคนสร้างเป็นช่างที่อพยพมาจากครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ปัจจุบันพระแท่นหลังนี้ อยู่ที่โบสถ์น้อยหน้าพระปรางค์วัดอรุณ พระแท่นนี้กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 พ.ศ. 2494


พระแท่นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

สร้างจากไม้เนื้อแข็ง ขนาดกว้าง 1.24 เมตร ยาว 2.05 เมตร สูง 0.58 เมตร มีการแกะสลักลวดลายเครือเถาปิดทอง มีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมกับศิลปะจีน เป็นพระแท่นขาสิงห์ โดยมีการแกะสลักรูปสิงโตจีนหมอบอยู่ที่ขาทั้งสี่ ตัวลวดลายมีทั้งภาพ ดอกไม้พันธุ์พฤกษาและกิ่งก้านเลื้อยเลาะสลับกับ ภาพนกและค้างคาว ซึ่งได้อิทธิพลจากศิลปะจีน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 เดิมที่อยู่ที่วัดราชบัลลังค์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ปัจจุบันพระแท่นหลังนี้ จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรีสำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม. (2540). สารานุกรมพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช. กรุงเทพฯ : ฟ้าอภัย.

ราตรี โตเพ่งพัฒน์. (ม.ป.ป.). 15 ปี ศิลปะกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
สุดารา สุจฉายา. (2550). ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ : สารคดี

วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ