วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่า “วัดสลัก” ได้ยกเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ในกำแพงเมืองฝั่งตะวันออก อีกทั้งยังปรากฏชื่อ ในหมายรับสั่งเรื่อง โปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ที่ท่าเจ้าสนุกว่า “เรือพระที่นั่ง 15 วาซึ่งถวายพระสงฆ์ที่วัดสลัก ทรงพระบาง 1 ลำ


ตู้พระธรรม

ตู้พระธรรม (เลขที่ 25 กพช.) ที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งได้มาจากวัดมหาธาตุฯ สร้างจากไม้ ประดับลายรดน้ำลงรักปิดทอง ทั้ง 4 ด้าน มีรูปทรงสี่เหลี่ยมบนขาตั้ง 4 ขา เรียกว่า “ตู้ขาหมู” ลวดลายพื้นหลักจะอยู่ที่ด้านหน้าและด้านข้างของตู้ เป็นลายกนกเปลวเครือเถาไขว้ออกเถาช่อเปลวหางโต แทรกด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น นาค ครุฑ เหม กินรี มีภาพเทพพนมและกุมารรำ ประกอบกับมีลวดลายของดอกไม้ต้นไม้ชูช่อ ประกอบกับมีสัตว์ นานาชนิด แทรกอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนด้านหลังของตู้ก็มีการเขียนลายเล่าเรื่องท้าวอุเทนเต็มพื้นที่ มีภาพมักรีผล สัตว์พิมพานต์ ส่วนล่างมีการลงจารึกอักษรไทย 4 บรรทัดและตัวเลขไทย ระบุปี พ.ศ.2323


อ้างอิง

กรมศิลปากร. (2523). ตู้ลายทอง ภาค 1 สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

หมายรับสั่งสมัยกรุงธนบุรี จ.ศ.1138 (พ.ศ.2319).

หอสมุดแห่งชาติ. (หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย เส้นขาว. เลขที่ 2 ตู้ 118. หมวดจดหมายเหตุกรุงธนบุรี).

วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ