วัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ หรือ วัดบางหว้าใหญ่เป็นวัดที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในการพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ยกวัดบางหว้าใหญ่ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงอยู่ในเขตกำแพงเมืองธนบุรีคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปรวบรวมชุมนุมที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อเสร็จราชการสงครามแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้รวบรวมพระไตรปิฎกพร้อมกันนั้นก็ได้อาราธนาอาจารย์สี พระสงฆ์ผู้มีความแตกฉาน เสด็จกลับกรุงธนบุรีทั้งทรงตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก อีกทั้งทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช อรรคมหาเสนาบดี จัดหาช่างเพื่อเขียนสมุดภาพไตรภูมิ ณ วัดบางหว้าใหญ่แห่งนี้


พระอุโบสถเก่า

สัญนิษฐานจากรูปทรงลักษณะประกอบกับหลักฐานในแผนที่ของพม่าที่ลอบเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กขนาด 5 ห้อง กว้าง 7 เมตร ยาว 19.86 เมตร มีมุขระเบียงหน้าและหลัง มีบันไดขึ้นอาคาร ด้านละ 2 ข้าง มีเสาสี่เหลี่ยมจำนวน 4 ต้นรับผนังจั่ว ประดับหัวเสาด้วยบัวจงกล ปิดทองและกระจกสีหลังคาหน้าจั่ว2 ซ้อน 3 ตับชั้นหลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีหน้าจั่วประดับลายพันธุ์พฤกษาประกอบลายก้านขดหน้าบันถูกบีบแคบเนื่องจากหลังคามีความสูงชัน ปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้กลายเป็นพระวิหาร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระประธานองค์เดิมของวัด

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรีสำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พัชบ้านสวนธนบุรี. (2560). ตามรอยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : พีพรินท์ (2012).

สุวิทย์ เตชรุ่งถวิล. (2543). การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ หรือ วัดบางหว้าใหญ่เป็นวัดที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในการพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ยกวัดบางหว้าใหญ่ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงอยู่ในเขตกำแพงเมืองธนบุรีคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปรวบรวมชุมนุมที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อเสร็จราชการสงครามแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้รวบรวมพระไตรปิฎกพร้อมกันนั้นก็ได้อาราธนาอาจารย์สี พระสงฆ์ผู้มีความแตกฉาน เสด็จกลับกรุงธนบุรีทั้งทรงตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก อีกทั้งทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช อรรคมหาเสนาบดี จัดหาช่างเพื่อเขียนสมุดภาพไตรภูมิ ณ วัดบางหว้าใหญ่แห่งนี้


ตำหนักแดง

ตำหนักแดงนี้คาดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรีมีลักษณะเป็นเรือนไม้สักฝาปะกน ปิดทอง หน้าจั่วแบบฝาปกนเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ 2 ช่อง ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ เรือนไทยหลังนี้นับว่ามีขนาดใหญ่พอสมควร สังเกตได้จากความกว้างของอาคารถึง 11 เมตร ความสูงของห้องจากพื้นถึงเพดาน 5.50 เมตร เชื่อกันว่าเป็นที่ประทับทรงกรรมฐานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสันนิษฐานจากพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งได้ตรัสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรกุฏิ ความว่า “นี้เป็นตำหนักปรกของพระเจ้ากรุงธนบุรี หลักฐานอ้างอิงคือฝาประจัน ที่ใช้กั้นห้องภายใน เดิมเขียนรูปอสูรกายต่างชนิดและมีพระภิกษุเจริญกรรมฐาน ซึ่งสอดคล้องกับอุปนิสัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ปัจจุบันภาพเหล่านี้ได้ลบเลือนหายไป” ต่อมาภายหลังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ผู้เป็นพระสวามีของพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นผู้ถวายให้แก่วัดระฆัง เพื่อเป็นกุฏิสงฆ์

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรีสำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พัชบ้านสวนธนบุรี. (2560). ตามรอยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : พีพรินท์ (2012).

สุวิทย์ เตชรุ่งถวิล. (2543). การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ