วัดอินทราราม

วัดอินทราราม เดิมชื่อวัดบางยี่เรือนอก ถือเป็นวัดสำคัญในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จนอาจนับได้ว่าเป็นวัดประจำรัชกาล ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงครั้งสมัยที่พระองค์ได้ทรงอุปถัมพ์พระพุทธศาสนา ได้ทรงดำริให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างกุฎิ120 หลัง อีกทั้งโปรดให้สร้างพระตำหนัก มีพระตำหนักสำหรับใช้ประทับบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน ทรงถวายพระไตรปิฎกพร้อมหีบทองทึบ ทรงถวายเรือพร้อมฝีพายแก่วัดนี้ด้วย วัดแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานพระเมรุ ถึง 4 ครั้ง ในรัชสมัยของพระองค์ และยังมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายในวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานและวัตถุโบราณ ที่สัญนิษฐานมีการซ่อมว่าสร้างในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระพุทธรูปฉลองพระองค์

สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยช่างในสมัยกรุงธนบุรี โดยลักษณะของพระพุทธรูปนั้นเข้าใจว่าได้จากการเข้ากรรมฐานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้วให้พระสังฆราชแปลพระบาลีพระพุทธลักษณะถวายถูกต้องด้วยพุทธลักษณะเพียง 12 สิ่ง แล้วโปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล เป็นผู้ปั้น ดังบันทึกจากพระราชพงศาวดาร กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทานุมาศ (เจิม) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ โดยพระพุทธรูปปางสมาธิ เนื้อทองสัมริด มีขนาดหน้าตัก 4 ฟุต 8.5 นิ้ว มีพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง มีพระเกตุมาลาเม็ดพระศกหนามขนุนแต่ไม่เรียวแหลมพระขนงโค้งเป็นปีกกาเป็นเส้นต่อถึงสันพระนาสิกพระปรางค์หนาพระกรรณยาวเรียวฝ่าพระบาทเรียบเป็นกระดานจีวรเรียบพระสังฆาฏิถึงพระนาภี อีกทั้งเชื่อกันว่าที่ฐานผ้าทิพย์ใช้เป็นที่บรรจุพระอังคารธาตุ (ขี้เถ้า) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระพุทธรูปฉลองพระองค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถหลังเก่า

นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยธนบุรีอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธรูปสัมริด ที่เมืองนครฯ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อสัมริดลงรักปิดทองบริเวณฐานมีจารึกปีพุทธศักราช 2311 ปัจจุบันจัดแสดงภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรี สำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พัชบ้านสวนธนบุรี. (2560). ตามรอยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี.
กรุงเทพฯ : พีพรินท์ (2012).

สุวิทย์ เตชรุ่งถวิล. (2543). การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรา ศรีสุชาติ. (2559, กันยายน – ตุลาคม). “โบราณวัตถุ สื่อลายลักษณ์ปักษ์ใต้ สมัยธนบุรี”. ศิลปากร.

วัดอินทราราม

วัดอินทราราม เดิมชื่อวัดบางยี่เรือนอก ถือเป็นวัดสำคัญในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จนอาจนับได้ว่าเป็นวัดประจำรัชกาล ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงครั้งสมัยที่พระองค์ได้ทรงอุปถัมพ์พระพุทธศาสนา ได้ทรงดำริให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างกุฎิ120 หลัง อีกทั้งโปรดให้สร้างพระตำหนัก มีพระตำหนักสำหรับใช้ประทับบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน ทรงถวายพระไตรปิฎกพร้อมหีบทองทึบ ทรงถวายเรือพร้อมฝีพายแก่วัดนี้ด้วย วัดแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานพระเมรุ ถึง 4 ครั้ง ในรัชสมัยของพระองค์ และยังมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายในวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานและวัตถุโบราณ ที่สัญนิษฐานมีการซ่อมว่าสร้างในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระแท่นบรรทม

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ใช้เมื่อเสด็จมาประทับแรมเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศล ศึกษาและปฏิบัติที่เป็นบุญบ่อยครั้ง ณ วัดอินทรารามจึงสันนิษฐานว่าพระแท่นองค์นี้เป็นพระแท่นบรรทมซึ่งสร้างด้วยไม้โดยใช้ไม้กระดาน 2 แผ่นประกบมีขนาดโดยรวมกว้าง 1.70 เมตรยาว 3.05 เมตรสูง 0.68 เมตรมีลูกกรงงาช้างโดยรอบ แกะสลักลวดลายเครือเถาดอกพุดตานอย่างสวยงามวิจิตรบรรจง ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 ปัจจุบันตั้งอยู่ในวิหารน้อย ของวัดอินทราราม

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรีสำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ราตรี โตเพ่งพัฒน์. (ม.ป.ป.). 15 ปี ศิลปะกรุงธนบุรี.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

วัดอินทราราม

วัดอินทราราม เดิมชื่อวัดบางยี่เรือนอก ถือเป็นวัดสำคัญในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จนอาจนับได้ว่าเป็นวัดประจำรัชกาล ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงครั้งสมัยที่พระองค์ได้ทรงอุปถัมพ์พระพุทธศาสนา ได้ทรงดำริให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างกุฎิ120 หลัง อีกทั้งโปรดให้สร้างพระตำหนัก มีพระตำหนักสำหรับใช้ประทับบำเพ็ญเพียรภาวนากรรมฐาน ทรงถวายพระไตรปิฎกพร้อมหีบทองทึบ ทรงถวายเรือพร้อมฝีพายแก่วัดนี้ด้วย วัดแห่งนี้ยังถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานพระเมรุ ถึง 4 ครั้ง ในรัชสมัยของพระองค์ และยังมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายในวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานและวัตถุโบราณ ที่สัญนิษฐานมีการซ่อมว่าสร้างในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระโกศโถ

อันที่จริงคำว่าพระโกศจะอยู่ด้านในใช้คู่กับพระลองซึ่งอยู่ด้านนอก แต่เรามักจะเรียกรวมว่า พระโกศ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มีโกศโถใบหนึ่งซึ่งได้มาจากกระทรวงวังในอดีต พอจะอธิบายจากการสรุปความจากหนังสือเรื่อง ตำนานพระโกษฐ์และหีบศพบันดาศักด์ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ช่วยกันเรียบเรียงความว่า “สมัยรัชกาลที่ 1 ถือว่าเป็นโกศเก่าแก่ ลวดลายและฝีมือทำรุ่นเดียวกับโกศแปดเหลี่ยม น่าเชื่อว่าพระโกศโถและพระโกศแปดเหลี่ยมทั้งสองนี้สร้างขึ้นแต่ครั้งกรุงธนบุรี แต่ส่วนที่เป็นมงกุฏอย่างชฎาละครคงทำทีหลัง” จากคำสันนิษฐานดังกล่าวเป็นหลักฐานที่มีพอเชื่อได้ ณ ขณะนี้ แต่ควรมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป

พระโกศโถนี้การการแกะสลักไม้เป็นลายกาบซ้อนกัน 3 ชั้น ภายในกาบประดับด้วยลายรักร้อยก้านแยก เมื่อเปรียบเทียบบกับลายรดน้ำบนตู้พระธรรม พบว่าลายแบบนี้ใช้มาแต่ก่อนจนถึง รัชกาลที่ 3 โกศโถนี้นับว่ามีรูปทรงงดงามมาก อีกทั้งเป็นโกศที่มีความเก่ากว่าพระโกศพระลองใบอื่น ๆ และ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเคยสันนิฐานว่า คงทำให้ใช้ขึ้นในงานพระเมรุ สมัยกรุงธนบุรี และใช้มาจนถึงรัชกาลที่1 อาจรวมถึงงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยก็เป็นได้ ปัจจุบันพระโกศโถนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง

กรมพระสมมอมรพันธุ์ กรมพระดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์. (2468).ตำนาน พระโกศแลหีบศพบรรดาศักดิ์. พิมพ์ในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา 3 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ.2468. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร.

อ้างอิงภาพ

รายการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่สร้างสมัยกรุงธนบุรีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. หนังสือเลขที่ วธ 0407.06/582 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2562.

วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ