ตำหนักจันทน์หรือหอพระไตรปิฏกเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างในสมัยกรุงธนบุรี เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระราชวรินทร์ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาพระตำหนักหลังนี้ถูกย้ายไปปลูกใหม่ ณ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) ลักษณะของหอไตร ได้รรูปแบบศิลปะอยุธยา มีลักษณะเป็นเรือนไทยยกพื้นสูง 3 หลังแฝดเรือนแต่ละหลัง วางยาวขนานกันตามแนวตะวันออกไปตะวันตกภายนอกเป็นโครงสร้างเสาและคานไม้ล้มสอบปิดล้อมด้วยฝาไม้สัก ลูกปะกนทาสีแดงดินโดยตลอดมีหน้าต่างโดยรอบกรอบลงรักปิดทองบานหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ บานประตูแกะสลักลายกนกปิดทองประดับกระจกสีตามช่องไฟคันทวยรับชายคา สลักเป็นตัวนาคปิดทองประดับกระจกกระจังเชิงชาย กระเบื้องเทพพนมประดับอยู่รอบชายคาชานด้านนอก เป็นพื้นที่เปิดโล่ง หอกลาง เป็นพื้นที่เชื่อมสู่หอนั่งและหอนอน


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ฝีมือพระอาจารย์นาคบรมครูช่างชั้นเอกสมัยกรุงธนบุรี เป็นจิตรกรในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มีชีวิตยืนยาวล่วงมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยภาพเขียนฝาด้านตะวันออกเขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์ศึกกุมภกัณฐ์ สุครีพถอนต้นรัง และศึกอินทรชิตภายหลัง อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้ทำการคัดลอกภาพเหล่านี้ไว้ จนในปัจจุบันภาพส่วนใหญ่เหล่านี้ได้เสียหายและลบเลือนไป แต่ยังพอมองเห็นได้บ้าง ลักษณะที่น่าสังเกตคือมีการใช้สีที่มากขึ้น และเริ่มมีการเขียนทัศนียภาพแบบตะวันตก อาคารเริ่มมีมิติ

อ้างอิง

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรีสำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พัชบ้านสวนธนบุรี. (2560). ตามรอยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : พีพรินท์ (2012).

สุวิทย์ เตชรุ่งถวิล. (2543). การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ