เงินพดด้วง

เงิน ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่วิถีชีวิตของคนเราทุกคนเพื่อการจับจ่ายใช้สอย ก่อนจะมาเป็นเงินเหรียญ และธนบัตรที่เราใช้ทุกวันนี้ ประเทศไทยเองก็มีเงินที่ใช้มาแต่อดีต เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเป็นเวลายาวนานแต่มีรูปร่างที่แตกต่างเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก เรียกว่า “เงินพดด้วง”ผลิตด้วยโลหะเงินบริสุทธิ์ ปลายขาสองข้างให้พับเข้าหากันจึงมีลักษณะกลมคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า “Bullet Coin”

ในสมัยกรุงธนบุรีมีการใช้เงินพดด้วง ซึ่งอาจจะมีทั้งที่สืบต่อมาจากสมัยอยุธยา หรือผลิตขึ้นใหม่ มาตราเงินใช้แบบเดียวกับสมัยอยุธยาสำหรับตราที่ประทับบนเงินพดด้วง ใช้ตราพระแสงจักรเป็นตราประจำแผ่นดินปะอยู่ด้านบน ส่วนตราประจำรัชกาลยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเป็นตรา “ตรีศูล” หรือ “ตราทวิวุธ” จะประทับอยู่ด้านข้างของเงินพดด้วง

“เงินพดด้วง” ผลิตโดยใช้โลหะเงินและใช้น้ำหนักเป็นมาตรฐานในการกำหนดมูลค่าของเงิน ทำให้หน่วยน้ำหนักกลายเป็นหน่วยมาตราเงินตราไปในที่สุด หน่วยมาตราเงินไทยสมัยกรุงธนบุรีเป็นระบบที่เรียกว่า อัฐนิยม ซึ่งได้แก่ ไพ เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง และชั่ง


ราคาข้าว
ในอดีต พ.ศ. 2317
ราคาข้าวเกวียนละ 10 ตำลึง หรือ 40 บาท
ปัจจุบัน
ราคาข้าวเกวียนละ 17,000 บาท

ลักษณะของเงินพดด้วงเป็นเงินตราที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ชัดเจนคือ มีปลายขา 2 ข้าง งอเข้าหากันเป็นปลายแหลมและมีรอยบาก 2 ข้าง เป็นร่องลึกแสดงให้เห็นถึงแนวคิดด้วยการนำสัญลักษณ์มาประทับลงบนเงินพดด้วง บ่งบอกถึงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้องค์ประกอบและคุณค่าทางศิลปะมาพัฒนาผลิตเงินตรา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของ เงินพดด้วงด้วยวิธีการคิดที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยด้านเงินตราที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเงินตราสกุลใดในโลก


อ้างอิง

ธนารักษ์, กรม. “กรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-2325), ”ใน วิวัฒนาการเงินตราไทย. กรุงเทพฯ : สำนักบริหาร เงินตรา กรมธนารักษ์.

ล้อม เพ็งแก้ว. เงินพดด้วงสมัยกรุงธนบุรี. ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 33 ฉบับที่ 11 กันยายน 2555 หน้า 32-35.

ทองเจือ เขียดทอง, ฉลอง สุนทรนนท์ และสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ. (2558). สารานุกรมศิลปกรรมกรุงธนบุรี สำหรับเยาวชน ฉบับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. หน้า 45-47. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.


วีดิทัศน์ ภาพหมุน ย้อนกลับ